เมนู

อาสีวิสวรรคที่ 4


อรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ 1


อาสีวิสวรรค อาสีวิสสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุเหล่าโยคาวจรผู้ชอบจาริกไปรูปเดียว 2 รูป 3 รูป 4 รูป 5 รูป ผู้มี
ความประพฤติต้องกัน ผู้ปฏิบัติ ผู้ขะมักเขม้น แม้ทุกรูป ซึ่งนั่งล้อมเหล่า
ภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีทุกขลักษณะเป็นอารมณ์ แท้จริงพระสูตรนี้ ตรัส
ด้วยอัธยาศัยของบุคคล. จริงอยู่ ในบรรดาบุคคลทั้งหลาย ตรัสด้วยอำนาจ
เหล่าภิกษุอุคฆฏิตัญญูบุคคลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีทุกข-
ลักขณะเป็นอารมณ์ ซึ่งมาในเวลาเฝ้า นั่งแวดล้อมพระศาสดา แม้เมื่อ
เป็นอย่างนั้น. ข้อนี้จึงเป็นปัจจัย แก่บุคคล 4 เหล่ามีอุคฆฏิตัญญูบุคคล
เป็นต้น.
จริงอยู่ อุคฆฏิตัญญูบุคคล จักบรรลุพระอรหัตด้วยยกหัวข้อแห่ง
พระสูตรขึ้นเท่านั้น. วิปจิตัญญูบุคคล บรรลุพระอรหัต ด้วยการแจกหัวข้อ
ธรรมโดยพิสดาร เนยยบุคคลท่องบ่นพระสูตรนี้เท่านั้น ใส่ใจโดย
แยบคาย คบทาเข้าใกล้กัลยาณมิต จึงจักบรรลุพระอรหัต สำหรับปทปรม-
บุคคล พระสูตรนี้ จักเป็นวาสนาเครื่องอบรมบ่มบารมีในอนาคตแล ด้วย
ประการดั่งว่ามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระองค์ทรงมีอุปการะ
แก่สัตว์แม้ทุกหมู่เหล่า ทรงเป็นประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุขึ้น ประหนึ่งทำ
อากาศให้กว้างขวาง และประหนึ่งทำภูเขาจักรวาลให้หวั่นไหว จึงเริ่ม
อาสีวิสสูตรนี้ ด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร อาสีวิสา ความว่า อสรพิษ
( งู ) 4 จำพวก คือ กัฏฐมุขะ ปูติมุขะ อัคคิมุขะ สัตถมุขะ. ในงู 4
จำพวกนั้น ทั่วเรือนร่างของคนที่ถูกงูกัฏฐมุขะกัด จะแข็งกระด้าง เหมือน
ไม้แห้ง ในข้อต่อทั้งหลาย ข้อต่อจะแข็งกระด้าง. ตั้งอยู่เหมือนเสียบไว้
ด้วยหลาวเหล็ก. เรือนร่างของผู้ถูกงูปูติมุขะกัด ก็จะมีน้ำหนองไหลเยิ้มอยู่
เหมือนขนุนสุกเน่า เป็นดังน้ำที่เขาใส่ไว้ในหม้อเกรอะ. ทั่วเรือนร่าง
ของผู้ถูกงูอัคคิมุขะกัด จะไหม้กระจายไป เป็นเหมือนกำขี้เถ้า และเป็น
เหมือนกำแกลบ ทั่วเรือนร่างของผู้ถูกงูสัตถมุขะกัด ย่อมขาดเป็นช่อง
เป็นเหมือนสถานที่ฟ้าผ่า และเป็นเหมือนปากที่ต่อเรือน ที่ถูกสว่านใหญ่
เจาะ อสรพิษทั้ง 4 จำแนกโดยพิเศษด้วยประการฉะนี้.
แต่เมื่อว่าโดยอำการแผกกันแห่งกำลังเร็วของพิษอสรพิษทั้ง 4 ชนิด
นั้นรวมเป็น 16 จำพวก. จริงอยู่งูกัฏฐมุขะมี 4 ชนิดคือ มีพิษที่กัด
มีพิษที่พบ มีพิษที่ถูกต้องมัน มีพิษที่ลม จริงอยู่เรือนร่างของคนที่ถูกงู
กัฏฐมุขะนั้น กัดก็ดี เห็นก็ดี ถูกต้องก็ดี ถูกลมกระทบก็ดี ย่อมแข็ง
กระด้างโดยประการดั่งกล่าวแล้ว. แม้ในงูที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อสรพิษ
ย่อมมี 16 ด้วยอำนาจความแผกกันแห่งกำลังเร็วแห่งพิษ ด้วยประการฉะนี้
งูพิษย่อมมี 64 ชนิด ด้วยอำนาจบุคคลบัญญัติอีก. คืออย่างไร. คืออย่างนี้
อันดับแรก บรรดางูกัฏฐมุขะ งูกัฏฐมุขะมีพิษที่กัด มี 4 ชนิด คือ พิษ
แล่นแต่พิษไม่ร้าย พิษร้ายแต่พิษไม่แล่น พิษแล่นและพิษร้าย และพิษ
ไม่แล่นพิษไม่ร้าย

ในจำนวนงู 4 ประเภทนั้น พิษของงูใดควรกล่าวได้ว่า แล่นเร็ว
ขึ้นจับตา จับคอ จับศีรษะ เหมือนไฟไม้คบหญ้าลุกโชนเช่นพิษงูมณีสัปปะ
(งูเห่าปีแก้ว) อนึ่งเมื่อคนร่ายมนต์ เป่าลมเข้าทางช่องหู พอเอาไม้ตี
พิษก็จะแล่นลงมาหยุดอยู่ตรงที่ถูกกัดเท่านั้น งูนี้นั้น ชื่อว่ามีพิษแล่นเร็ว
แต่พิษไม่ร้าย.
ส่วนพิษของงูใด ค่อย ๆ แล่นขึ้น แต่ในที่ ๆ พิษแล่นขึ้น ก็เป็น
เหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป แม้โดยล่วงไปสิบ 12 ปี ก็ยังปรากฏ ที่ข้างหลังหู
และหลังคอเป็นต้น เป็นเหมือนพิษของงูน้ำ แต่เมื่อหมองูทำการร่ายมนต์
เป็นต้น พิษก็ไม่ลดลงเร็ว งูนี้นั้น ชื่อว่า มีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่นเร็ว.
ส่วนพิษของงูใด ขึ้นเร็ว แต่ไม่ลงเร็ว เช่น พิษของงูจงอางเป็นต้น
งูนี้นั้น ชื่อว่า ทั้งมีพิษแล่นเร็ว ทั้งมีพิษร้าย.
พิษของงูใด แม้ถูกหมองูเป่ามนต์ให้ลดลง ก็ลงง่าย ๆ เช่น พิษ
ของงูเขียว และงูเรือนเป็นต้น งูนี้นั้น ชื่อว่า มีพิษไม่แล่นเร็ว และ
มีพิษไม่ร้าย.
พิษที่ถูกกัดในจำพวกงูกัฏฐมุขะ และพิษที่ถูกกัดในจำพวกงูปูติมุขะ
เป็นต้นก็พึงทราบ โดยอุบายนี้ เพราะเหตุนั้น อสรพิษจึงมี 64 ประเภท
ด้วยอำนาจบุคคลบัญญัติด้วยประการฉะนี้. ใน 64 ประเภทนั้น แต่ละ
ประเภทยังแยกออกอย่างละ 4 ตามกำเนิด โดยนัยว่า งูเกิดแต่ฟองไข่
เป็นต้น จึงรวมเป็นงู 256 ประเภท. งูเหล่านั้นเอา 2 คูณ ด้วยงูที่เกิด
ในน้ำและบนบกเป็นต้น จึงเป็นงู 512. งูเหล่านั้น เอา 2 คูณ ด้วย

สามารถ กามรูปและอกามรูป จึงนับได้ 1,024. งูเ ล่านั้น เมื่อย่อเข้า
โดยปฏิโลม ย้อนกลับแห่งทางที่งูเลื้อยไปอีก จึงเป็นอสรพิษ 4 ประเภท
ด้วยอำนาจงูกัฏฐมุขะเป็นต้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอา
งูเหล่านั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว จตฺตาโร อาสีวิสา เป็นต้น.
ก็งูเหล่านั้น ท่านถือเอาด้วยอำนาจตระกูล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสีวิสา ความว่า ชื่อว่า อาสีวิสา
เพราะมีพิษที่รด ก็มี ชื่อว่าอาสีวิสาเพราะมีพิษที่ลิ้ม ก็มี อาสีวิสา เพราะ
มีพิษเช่นกับดาบก็มี. บทว่า อาสิตฺตวิสา ความว่า มีพิษที่ดังเขารดน้ำ
ชโลมทั่วกาย และพิษที่รดลงที่กายของผู้อื่น. บทว่า อสิตวิสา ความว่า
สิ่งใด ๆ อันงูเหล่านั้นลิ้มแล้ว กินแล้ว สิ่งนั้น ๆ ย่อมกลายเป็นพิษไป
เพราะฉะนั้น ที่ชื่อว่า อสิตวิสา เพราะสิ่งที่มันลิ้มกลายเป็นพิษ. บทว่า
อสิสทิสวิสา ความว่า ที่ชื่อว่า อสิสทิสวิสา เพราะพิษของงูเหล่านั้น
คมกริบ สามารถตัดขาดได้อย่างยอดเหมือนดาบ. พึงทราบความแห่งคำ
ในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุคฺคเตชา ได้แก่ มีเดชสูง คือมีอำนาจแรง. บทว่า โฆรวิสา.
ได้แก่ มีพิษที่แก้ ไขได้ยาก.
บทว่า เอวํ วเทยฺยุํ ได้แก่ พึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะให้เขาบำรุง
เลี้ยง. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลาย สั่งให้จับงูพิษทั้งหลายไว้ทรงพระดำริว่า
เราจะให้งูเหล่านี้กัดโจรเช่นนี้ให้ตาย หรือปล่อยมันไปที่กองทัพข้าศึกเวลา
ที่ข้าศึกประชิดนคร เราเมื่อไม่สามารถจะต่อต้านกำลังข้าศึกได้ ก็จะกิน

อาหารดี ๆ แล้ว ขึ้นสู่ที่นอนอย่างดี ให้งูเหล่านั้นกัดตนเอง ไม่ยอมติด
อยู่ในอำนาจของเหล่าศัตรู ให้ตายสมความพอใจของตน ดังนี้แล้ว ให้บำรุง
เลี้ยงอสรพิษทั้งหลายไว้ พระราชาเหล่านั้น ไม่ปรารถนาจะทำบุรุษใดให้
ตายโดยฉับพลันก็ปรารถนาว่าผู้นั้นจักต้องประสบทุกข์นาน ๆ แล้วตายไป
ด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสกะบุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ก็พวกนี้มันคืออสรพิษ
4 จำพวก นี่ พ่อมหาจำเริญ.
บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า ปเวเสตพฺพา ได้แก่
ให้นอน. บทว่า อญฺญตโร วา อญฺญตโร วา ความว่า บรรดาอสรพิษ
4 ประเภทมีกัฏฐมุขะเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง. คำว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ
ขอท่านจงกระทำกิจที่ท่านพึงกระทำเสีย นี้พึงทราบว่าเป็นคำของผู้บำเพ็ญ
ประโยชน์. ได้ยินว่า พระราชาทั้งหลาย ทรงมอบอสรพิษทั้งหลาย
แก่บุรุษนั้นด้วยอาการอย่างนี้ แล้วทรงบอกกล่าวแก่เหล่าอสรพิษที่เขาวาง
ไว้ในกะโปรงทั้ง 4 กะโปรงว่า นี้เป็นผู้บำรุงเจ้านะ. ลำดับนั้นงูตัวหนึ่ง
ก็เลื้อยออกมา เลื้อยขึ้นตามเท้าขวาของบุรุษนั้น แล้วพันมือขวาตั้งแต่
ข้อมือ แผ่พังพาน ใกล้ช่องหูขวา นอนกระทำเสียว่า สุสุ ดังนี้. อีก
ตัวหนึ่ง เลื้อยไปตามเท้าซ้าย แล้วพันมือซ้าย ในที่นั้นนั่นเอง แผ่พังพาน
ที่ใกล้ช่องหูซ้าย แล้วนอนกระทำเสียงว่า สุสุ ดังนี้. ตัวที่ 3 เลื้อยออก
ขึ้นไปตรงหน้าพันท้อง แผ่พังพาน ใกล้หลุมคอ นอนทำเสียงว่า สุสุ
ดังนี้. ตัวที่ 4 เลื้อยไปตามส่วนข้างหลัง พันคอ วางพังพานบนกระหม่อม
นอนกระทำเสียงว่า สุสุ ดังนี้.

เมื่ออสรพิษ 4 ประเภทนั้น อยู่ที่ร่างกายอย่างนี้ บุรุษผู้บำเพ็ญ
ประโยชน์ต่อบุรุษนั้น เห็นเขาเข้าจึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านได้อะไร?
ลำดับนั้น เมื่อบุรุษผู้ถูกงูพันนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อสรพิษเหล่านี้
พระราชาพระราชทานให้เป็นเครื่องประดับเป็นพิเศษบางประการ ที่มือ
ทั้งสองเหมือนกำไลมือ ที่แขนเหมือนกำไลต้นแขน ที่ท้องเหมือนผ้าคาด
ท้อง ที่หูเหมือนตุ้มหู ที่คอเหมือนสร้อยมุกดา และที่ศีรษะเหมือนเครื่อง
ประดับศีรษะ จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญช่างโง่เขลาจริง ท่านอย่าเข้าใจอย่างนี้
ว่า พระราชาทรงยินดี พระราชทานเครื่องประดับนั้นแก่เรา ท่านเป็นโจร
ทำความผิดร้าย ทั้งอสรพิษ 4 ประเภทเหล่านี้ ก็บำรุงยาก ปฏิบัติยาก
เมื่อตัวหนึ่งต้องการจะลุกขึ้น ตัวหนึ่งต้องการจะอาบน้ำ เมื่อตัวหนึ่งต้อง
การจะอาบน้ำ ตัวหนึ่งต้องการจะกิน เมื่อตัวหนึ่งต้องการจะกิน ตัวหนึ่ง
ก็ต้องการจะอาบน้ำ ในงู 4 ประเภทนั้น ตัวใดยังไม่เต็มความต้องการ
ตัวนั้นก็จะกัดให้ตายในที่นั้นนั่นแล. ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ
ผู้ถึงความสวัสดีปลอดภัยยังจะมีอยู่หรือ. เขากล่าวว่า จริงสิ รู้ว่าพวก
ราชบุรุษเจ้าหน้าที่ฟุ้งเฟ้อเผลอตัวหนีไปเสียก็จะปลอดภัย ก็พึงกล่าวว่า
ท่านจงกระทำกิจที่ท่านควรกระทำเถิด. ฝ่ายบุรุษที่ถูกจับเป็นโจรรู้เรื่อง
นั้นแล้ว เห็นขณะที่อสรพิษทั้ง 4 เผลอตัว และปลอดจากราชบุรุษเจ้า
หน้าที่จึงเอามือขวาพันมือซ้าย แล้ววางพังพานไว้ใกล้จอนหู ทำที่ประจง
ลูบคลำร่างอสรพิษตัวที่นอนหลับ ค่อย ๆ แกะให้มันออกไป แล้วแกะ.
ตัวอื่น ๆ ออกไป ด้วยอุบายอย่างนั้นแล กลัวต่อพวกมันแล้วพึงหนีไป.
ครั้งนั้นอสรพิษเหล่านั้น พากันติดตามบุรุษนั้นมาด้วยคิดว่าบุรุษนี้ พระ-

ราชาพระราชทานให้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงพวกเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายเอาเรื่องนี้ จึงตรัสว่า อถ โข ภิกฺขเว ปุริโส ภีโต จตุนฺนํ
อาสีวิสานํ ฯเปฯ ปลาเปถ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัว
ต่ออสรพิษเหล่านั้น ฯลฯ พึงหนีไปเสีย.
ก็เมื่อบุรุษนั้น ตรวจดูแล้วดูอึกซึ่งหนทางที่มาอย่างนั้นแล้วกำลัง
หนีไป พระราชาทรงสดับว่า บุรุษนั้นหนีไปแล้ว จึงทรงดำริว่า ใครหนอ
จักอาจติดตามไปฆ่าบุรุษนั้นได้ จึงเลือกได้คน 5 คน ผู้เป็นศัตรูต่อบุรุษ
นั้นนั่นแล้ว ทรงส่งไปด้วยดำรัสสั่งว่า พวกเธอจงไป จงติดตามไปฆ่าบุรุษ
นั้นเสีย. ลำดับนั้น เหล่าบุรุษผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อบุรุษนั้น ทราบเรื่อง
นั้นแล้วพึงได้บอก บุรุษนั้น กลัวเหลือประมาณ พึงหนีไป ท่านหมายเอา
เนื้อความนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตเมนํ เอวํ วเทยฺยุํ ดังนี้.
บทว่า อฏฺโฐ อนฺตรจโร วธโก ความว่า พวกอำมาตย์กราบทูล
ว่า บุรุษโจรผู้นี้ ถูกพวกอสรพิษติดตามไปก่อน ลวงอสรพิษเหล่านั้น
ท่าโน้นเท่านี้หนีไป บัดนี้เขาถูกศัตรู 5 คน ติดตามก็หนีเตลิดไป ใคร ๆ
ไม่อาจจะจับเขาได้อย่างนี้ แต่สามารถจะจับได้ด้วยการหลอกลวง เพราะ
ฉะนั้น ขอทรงโปรดส่งคนผู้สนิทสนม เป็นคนภายในเคยกินเคยดื่มร่วมกัน
ตั้งแต่รุ่นหนุ่มไปมอบแก่เพชฌฆาต พระราชาก็ทรงส่งเพชฌฆาตผู้สอดแนม
ให้ไปเสาะหาเขา.
บทว่า โส ปสฺเสยฺย สุญฺญํ คามํ ความว่า บุรุษโจรนั้นกลับ
เหลียวดูเห็นอสรพิษทั้ง 4 ศัตรูผู้ฆ่า 5 คน กำลังสูดดมกลิ่นรอยเท้าไป
โดยเร็ว เห็นเพชฌฆาตผู้สอดแนมคำรบ 6 มาพูดเกลี้ยกล่อมว่า ดูราท่าน
ผู้เจริญ ท่านจงกลับเสียอย่าหนีเลย บริโภคกามกับบุตรภรรยา ก็จักอยู่

เป็นสุข เขากลัวเหลือประมาณก็หนีซอกซอนไป พึงเห็นบ้านร้างหมู่หนึ่ง
ซึ่งมีกระท่อม 6 หลังอยู่ตรงหน้า ปลายเขตแคว้น. บทว่า ริตฺตกํเยว
ปวิเสยฺย
ความว่า พึงเข้าไปยังกระท่อมที่ว่างเปล่าเท่านั้น เพราะเว้นจาก
ทรัพย์ ธัญญาหาร เตียงและตั่งเป็นต้น.
บทว่า ตุจฺฉกํ สุญฺญตํ เป็นไวพจน์ ของบทว่า ริตฺตกํเยว
นั้นแล. บทว่า ปริมเสยฺย ความว่า พึงเที่ยวไปด้วยหวังว่า ถ้าน้ำดื่มมี
เราจักดื่ม ข้าวมีก็จักกิน ดังนี้แล้ว สอดมือเข้าไปข้างในแล้วคลำดู.
บทว่า ตเมนํ เอวํ วเทยฺยุํ ความว่า บุรุษนั้นไม่ได้อะไร ๆ
แม้ในเรือนสักหลังเดียว ในจำนวนเรือนทั้ง 6 หลัง แต่แล้วก็เห็นแผ่น
กระดานคด ๆ ที่เขาปูไว้ที่ต้นไม้ ที่มีเงาสงบต้นหนึ่งซึ่งมีอยู่กลางหมู่บ้าน
แล้วคิดจักนั่งในที่นี้ก่อน แล้วก็ไปนั่งในที่นั้น ถูกลมอ่อน ๆ พัดโชยมา
ทำให้หวลระลึกถึงความสุขแม้มีประมาณเท่านั้นโดยสงบ บุรุษผู้บำเพ็ญ
ประโยชน์บางเหล่ารู้เรื่องภายนอกแล้ว ก็พึงพูดกะเขาอย่างนั้น. บทว่า
อิทานิมฺโภ ปุริส ตัดเป็น อิทานิ อมฺโภ ปุริส แปลว่า ดูราบุรุษผู้เจริญ
บัดนี้ . บทว่า โจรา คามฆาตกา ได้แก่ โจรผู้ฆ่าชาวบ้าน 6 จำพวก
ผู้มาด้วยหมายว่า จักยึดเอาทรัพย์ที่จักได้ในที่นั้น หรือฆ่าเจ้าทรัพย์เสีย.
บทว่า อุทกณฺณวํ ได้แก่ น้ำลึกและน้ำกว้าง. จริงอยู่ น่าลึก
แต่ไม่กว้าง หรือน้ำกว้าง แต่ไม่ลึก. ท่านไม่เรียกว่า หวังน้ำ. ส่วนน้ำ
ที่ทั้งลึกทั้งกว้างเท่านั้นจึงจะเป็นชื่อห้วงน้ำนั้นนั่นแล. บทว่า สาสงฺกํ
สปฺปฏิภยํ
ความว่า ฝั่งนี้ ชื่อว่า น่ารังเกียจและน่ามีภัยเฉพาะหน้า
เพราะอำนาจอสรพิษทั้ง 4 ศัตรูผู้ฆ่าทั้ง 5 เพชฌฆาตผู้สอดแนมคำรบ 6

และโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน 6 จำพวก. บทว่า เขมํ อปฺปฏิภยํ ความว่า
ฝั่งโน้น ชื่อว่า เป็นแดนเกษม และไม่มีภัยเฉพาะหน้า เพราะไม่มีอสรพิษ
เป็นต้นเหล่านั้นนั่นและ เป็นสวนที่วิจิตรประเสริฐ เป็นดังบ่อน้ำที่ดื่มของ
ชนหมู่มาก เช่นกับเทพนคร. บทว่า นตฺถสฺส นาวา สนฺตารณี
ความว่า เรือข้ามฟาก ที่เขาจัดไว้ด้วยประสงค์อย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย
จักข้ามจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นดังนี้ก็ไม่พึงมี. บทว่า อุตฺตรเสตุ วา ความว่า หรือ
บรรดาสะพานไม้ สะพานเดินเท้า และสะพานเกวียน สะพานข้ามอย่างใด
อย่างหนึ่งไม่พึงมี. บทว่า ติฏฺฐติ พฺราหฺมโณ ความว่า นั่นแหละไม่ใช่
พราหมณ์จะถามว่า เพราะเหตุไรจึงตรัสบุรุษนั้นว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ
พวกข้าศึกมีประมาณเท่านั้น ถูกพราหมณ์นั้นลอยเสียแล้ว. อีกนัยหนึ่ง
เมื่อจะทรงเปลี่ยนเทศนา จึงได้ตรัสอย่างนั้น เมื่อทรงแสดงพราหมณ์
เป็นพระขีณาสพองค์หนึ่ง.
ก็เมื่อบุรุษผู้นั้นข้ามฟากได้อย่างนี้แล้ว อสรพิษทั้ง 4 กล่าวว่า
เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้พวกเราจะรุมกันกัดชีวิตของท่านทิ้งเสีย ศัตรู
ทั้ง 5 ก็กล่าวว่า เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้เราจะล้อมตัดอวัยวะน้อยใหญ่
ของท่านเสียแล้วไปในสำนักของพระราชาพึงได้ทรัพย์ 100 หรือ 1,000
ผู้สอดแนมคำรบ 6 กล่าวว่า เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้เราจะเอาดาบ
สีแก้วผลึกตัดศีรษะท่าน แล้วพึงได้ตำแหน่งเสนาบดี เสวยสมบัติ. พวก
โจรทั้ง 6 คิดว่า เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้เราจะให้ทำกรรมกรณ์
( ลงโทษ ) ต่าง ๆ แล้วให้ท่านนำทรัพย์เป็นอันมากมามอบ ดังนี้แล้ว
เมื่อไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำได้ ทั้งไม่สามารถจะไปข้างหน้าได้ เพราะ
ถูกพระราชากริ้วลงราชอาชญา ก็จะพึงซูบซีดตายอยู่ในที่นั้นนั่นเอง.

ในบทว่า อุปมา โข มฺยายํ นี้ พึงทราบ การเทียบเคียงข้ออุปมา
ตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้. จริงอยู่ กรรมพึงเห็นเหมือนพระราชา. ปุถุชนผู้อาศัย
วัฏฏะ พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้ทำผิดกฎหมาย มหาภูตรูป 4 เหมือนอสรพิษ
ทั้ง 4 เวลาที่กรรมให้แก่มหาภูตรูป 4 ในขณะปฏิสนธิของมหาชนนั่นเอง
เหมือนในเวลาที่พระราชาทรงให้ปกปิดอสรพิษทั้ง 4 เวลาที่พระศาสดา
ตรัสกรรมฐานมีมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ แก่ภิกษุนี้ แล้วตรัสว่าเมื่อเบื่อหน่าย
คลายกำหนัดในมหาภูตรูป 4 นี้ ก็จักหลุดพ้นจากวัฏฏะด้วยอาการอย่างนี้
เหมือนเวลาที่ตรัสว่า ท่านจงออกไปในขณะที่อสรพิษเผลอ และในขณะ
ที่ราชบุรุษสงัดเงียบแล้วหนีไปตามคำว่า บุรุษผู้เจริญ. กิจใดที่ท่านควรทำ
จงทำกิจนั้นเสีย เวลาที่ภิกษุนี้ ได้กรรมฐานในสำนักพระศาสดา แล้วหนี
ไปด้วยการหนีคือญาณ เพื่อประโยชน์แก่การหลุดพ้นจากอสรพิษคือมหา-
ภูตรูป เหมือนการได้ยินคำของผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อบุรุษนั้นแล้วออกใน
ขณะที่อสรพิษทั้ง 4 เผลอ และในขณะที่ราชบุรุษสงัดเงียบแล้วหนี
ซอกซอนไป.
พึงทราบกถาว่าด้วยมหาภูตรูป 4 อุปาทานขันธ์ 5 และอายตนกถา
ในคำว่า จตุนฺนํ มหาภูตานํ ปฐวีธาตุยา อาโปธาตุยา เป็นต้น โดยนัย
ที่กล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. ก็ในที่นี้ ปฐวีธาตุ พึงเห็น
เหมือนงูกัฏฐมุขะ ( ปากไม้ ) ธาตุที่เหลือพึงเห็นเหมือนงูปูติมุขะ ( ปากเน่า )
งูอัคคิมุขะ ( ปากไฟ ) และงูสัตถมุขะ ( ปากศัสตรา ). กายทั้งสิ้นของบุคคล
ผู้ถูกงูปากไม้กัด ย่อมแข็งกระด้างฉันใด แม้กายทั้งสิ้น ย่อมแข็งกระด้าง
เพราะปฐวีธาตุกำเริบก็ฉันนั้น อนึ่งกายทั้งสิ้นของผู้ถูกงูปากเน่าเป็นต้นกัด

ย่อมน้ำเหลืองไหลออก ย่อมไหม้ และย่อมทรุดโทรมฉันใด กายทั้งสิ้น
ย่อมน้ำเหลืองไหลออก ย่อมไหม้ และย่อมทรุดโทรม แม้เพราะความ
กำเริบของอาโปธาตุ เตโชราตุ และวาโยธาตุ ฉันนั้น.
ด้วยเหตุนั้น อรรถกถาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
ร่างกายที่ถูกงูปากไม้กัดเอาแล้ว ย่อมแข็ง
กระด้างไป ร่างภายนั้น เพราะปฐวีธาตุกำเริบ ก็
ย่อมแข็งกระด้าง ดังงูปากไม้กัด ฉะนั้น ก็มี
ร่างกายที่ถูกงูปากเน่ากัดเอาแล้ว ย่อมเน่าไป
ร่างกายนั้น เพราะอาโปธาตุกำเริบ ก็ย่อมเน่า
ดังงูปากเน่ากัด ฉะนั้น ก็มี
ร่างกายที่ถูกงูปากไฟกัดเอาแล้ว ย่อมร้อน
ไหม้ ร่างกายนั้น เพราะเตโชธาตุกำเริบ ก็ย่อม
ร้อนไหม้ ดังงูปากไฟกัด ฉะนั้น ก็มี
ร่างกายที่ถูกงูปากศัสตรากัดเอาแล้ว ย่อม
ขาดแหว่ง ร่างกายนั้น เพราะวาโยธาตุกำเริบ ก็
ย่อมขาดแหว่ง ดังงูปากศัสตรากัด ฉะนั้น.

ในข้อนี้ พึงทราบส่วนประกอบของสรีระโดยพิเศษ ด้วยประการ
ฉะนี้ก่อน

แต่เมื่อว่าโดยไม่แผกกัน พึงทราบว่าธาตุเหล่านั้น มีภาวะเสมือน
กันกับอสรพิษ โดยเหตุเหล่านี้คือ โดยที่อาศัย โดยความผิดกันแห่งกำลัง
เร็วแห่งพิษ โดยถือเอาแต่สิ่งไม่น่าปรารถนา โดยบำรุงเลี้ยงยาก โดยเข้า
ไปหาได้ยาก โดยเป็นสัตว์ไม่รู้คุณคน โดยมีปกติกัดไม่เลือก โดยมีโทษ
และอันตรายอย่างอนันต์.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสยโต ความว่า จริงอยู่ จอมปลวก
ชื่อว่าเป็นที่อาศัยของอสรพิษทั้งหลาย. ก็อสรพิษเหล่านั้น ย่อมอยู่อาศัย
ที่จอมปลวกนั้น. จอมปลวกคือกาย เป็นที่อาศัย แม้ของมหาภูตรูปทั้งหลาย.
จริงอยู่โพรงต้นไม้ ใบหญ้า ใบไม้ ที่รก และกองหยากเยื่อ ก็เป็นที่อาศัย
ของอสรพิษทั้งหลาย. อสรพิษเหล่านั้น ย่อมอยู่ในที่แม้เหล่านั้น. โพรงไม้
คือกาย ที่รกคือกาย กองหยากเยื่อคือกาย ก็เป็นที่อาศัย แม้ของมหาภูตรูป
ทั้งหลาย พึงทราบความที่มหาภูตรูปเหล่านั้นเหมือนกัน ดังพรรณนามา
อย่างนี้ก่อน.
บทว่า วิสเวควิการโต ความว่า อสรพิษทั้งหลาย โดยประเภท
มี 4 มีงูปากไม้เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งตระกูล. ในอสรพิษเหล่านั้น
ตระกูลหนึ่ง ๆ เมื่อแบ่งโดยความผิดแผกกันแห่งพิษ ก็มี 4 อย่าง คือ มีพิษ
ที่ถูกกัดเป็นต้น แม้มหาภูตรูป ก็มี 4 โดยต่างเป็นปฐวีธาตุเป็นต้น ด้วย
อำนาจลักษณะจำเพาะตัว ในมหาภูตรูปเหล่านี้ มหาภูตรูปอย่างหนึ่ง ๆ
ย่อมมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจมหาภูตรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบ
ว่ามหาภูตรูปเหล่านั้น เสมือนกันโดยความผิดแผกกันแห่งกำลังเร็วของพิษ
ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อนตฺถคหณโต ความว่า อสรพิษทั้งหลาย เมื่อจะยืดเอา
ย่อมยึดเอาสิ่งซึ่งไม่น่าปรารถนา 5 อย่าง คือ ย่อมถือเอาแต่ของเหม็น
ถือเอาของไม่สะอาด ย่อมถือเอาแต่ตัวโรค ย่อมถือเอาแต่ของมีพิษ ย่อม
ถือเอาแต่ความตาย แม้มหาภูตรูป เมื่อถือเอา ย่อมถือเอาแต่สิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนา 5 อย่าง คือ ย่อมถือเอาแต่ของเหม็น ถือเอาแต่ของไม่สะอาด
ถือเอาแต่ความเจ็บ ถือเอาแต่ความแก่ ถือเอาแต่ความตาย.
ด้วยเหตุนั้น พระโปราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมจับงูอันเปื้อนคูถ
มีพิษมาก เป็นผู้เพลิดเพลินงูในโลก ชื่อว่าจับเอา
ภาวะที่ไม่น่าปรารถนาทั้ง 5 คือ ของเหม็น ของไม่
สะอาด พยาธิ ชรา มรณะเป็นที่ 5 ภาวะที่ไม่น่า
ปรารถนา 4 อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในงูที่เปื้อนคูถ.
ปุถุชนผู้บอดและเขลาไม่ฉลาด ก็อย่างนั้นเหมือน-
กัน เป็นผู้เพลิดเพลินความเกิดในภพ ชื่อว่าจับ
อนัตถะภาวะที่ไม่น่าปรารถนา คือของเหม็น ของ
ไม่สะอาด พยาธิ ชรา มรณะ เป็นที่ 5 ภาวะ
ที่ไม่น่าปรารถนา 5 เหล่านี้ มีอยู่ในกายอันเป็นดัง
งูที่เปื้อนคูถฉะนั้น.

พึงทราบว่ามหาภูตรูป เหมือนกันโดยถือเอาแต่อนัตถะภาวะที่ไม่น่า
ปรารถนา ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ทุรูปปฏฺฐานโต ดังต่อไปนี้. อสรพิษ
เหล่านั้นบำรุงเลี้ยงได้ยาก เมื่อตัวหนึ่งประสงค์จะลุก ตัวหนึ่งประสงค์
จะอาบน้ำ เมื่อตัวนั้นประสงค์จะอาบน้ำ อีกตัวหนึ่งประสงค์จะกิน เมื่อ
ตัวนั้นประสงค์จะกิน อีกตัวหนึ่งประสงค์จะนอน บรรดางูเหล่านั้น
งูตัวใด ๆ ยังไม่เต็มประสงค์ งูตัวนั้นก็จะกัดให้ตายในที่นั้นนั่นเอง แต่
เหล่าภูตรูปนั่นแล บำรุงเลี้ยงยากกว่า - อสรพิษเหล่านี้. จริงอยู่ เมื่อปรุงยา
แก่ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ ก็กำเริบ. เมื่อผู้นั้นปรุงยา เตโชธาตุ ก็กำเริบ
ดังกล่าวมานี้ เมื่อปรุงยา แก่ธาตุอันหนึ่ง ธาตุอีกอันหนึ่งก็กำเริบเพราะ
ฉะนั้น พึงทราบว่า ราตุทั้งหลายเหมือนกันโดยบำรุงเลี้ยงได้ยากด้วย
ประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ทุราสทโต ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ อสรพิษ
ทั้งหลาย ชื่อว่า พบได้ยาก คนทั้งหลายพบอสรพิษที่หน้าเรือน ก็จะหนีไป
ทางหลังเรือน พบที่หลังเรือนก็จะหนีไปทางหน้าเรือน พบกลางเรือน
ก็จะหนีเข้าห้อง พบที่ห้องก็จะหนีขึ้นเตียงตั่ง มหาภูตรูปทั้งหลาย ชื่อว่า
พบได้ยากมากกว่านั้น. จริงอยู่ เมื่อคนเป็นโรคเรื้อน หูจมูกเป็นต้นก็จะ
จะขาดตกไป เป็นที่เนื้อตัว ฝูงแมลงวันหัวเขียวก็จะตอม กลิ่นตัวก็จะ
คลุ้งไปไกล บุรุษโรคเรื้อนนั้นกำลังด่าก็ดี กำลังร้องครวญครางก็ดี คน
ทั้งหลาย ก็ไม่อาจเข้าไปด่าใกล้ ๆ ได้ ไม่อาจเข้าไปช่วยใกล้ ๆ ได้ ต้อง
ปิดจมูก บ้วนน้ำลาย ห่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นไปเสียไกล ๆ พึงทำความ
ข้อนี้ให้แจ่มแจ้งอย่างนั้น โดยโรคอย่างอื่นๆ เช่นโรคบานทะโรค โรคท้อง
โรคลมเป็นต้น และโรคที่ทำความขยะแขยงน่าเกลียด เพราะฉะนั้น พึง
ทราบว่ามหาภูตรูปทั้งหลาย ก็เหมือนกัน โดยพบได้ยาก ด้วยประการ
ฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อกตญฺญุตโต ดังต่อไปนี้. จริงอยู่
อสรพิษทั้งหลาย ย่อมไม่รู้อุปการะอันผู้อื่นกระทำแล้ว แม้เมื่อเขาให้ก็ดี
ให้บริโภคก็ดี บูชาอยู่ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นก็ดี ใส่ในกระโปรง
บริหารอยู่ก็ดี แสวงหาแต่โอกาสเท่านั้น ได้โอกาสในที่ใด ก็กัดเขาให้ตาย
ในที่นั้นนั่นแล มหาภูตรูปทั้งหลายต่างหากไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว
ยิ่งกว่าอสรพิษทั้งหลาย. จริงอยู่สิ่งที่ชอบใจ อันมหาภูตรูปเหล่านั้น ทำ
แล้ว ไม่มีเลย แม้เขาให้อาบน้ำที่ไม่มีมลทิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำเย็นหรือ
น้ำร้อนก็ดี สักการะอยู่ด้วยธูปของหอมและดอกไม้เป็นต้นก็ดี ประคบ-
ประหงมอยู่ ด้วยผ้าอันนุ่ม ที่นอนอันนุ่มและที่นั่งอันนุ่มเป็นต้นก็ดี ให้
กิน อาหารอย่างดีก็ดี ให้ดื่มน้ำอย่างดีก็ดี ก็ยังคอยแสวงหาแต่โอกาสอยู่
นั่นเอง ได้โอกาสในที่ใด โกรธขึ้นมาก็ทำให้ถึงความย่อยยับในที่นั้น
นั่นเอง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่ามหาภูตรูปเหมือนกันโดยไม่รู้คุณคน
ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยใน บทว่า อวิเสสการิโต ดังต่อไปนี้. จริงอยู่
อสรพิษไม่ได้เลือกว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือ
ศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต ย่อมกัดผู้ที่มาประจวบเข้า ๆ ให้ตาย
ไปทั้งนั้น. แม้มหาภูตรูป ก็ย่อมไม่เลือกว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์
เป็นแพศย์ หรือศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต เป็นเทพ หรือมนุษย์
เป็นมาร หรือพรหม ไม่มีคุณ หรือมีคุณ ก็ถ้าพวกมันเกิดความอายขึ้น
ว่า ผู้นี้เป็นผู้มีคุณไซร้ พวกมันก็จะพึงให้เกิดความละอายขึ้น ในพระ-
ตถาคต ผู้เป็นพระอัครบุคคล ในโลกพร้อมที่เทวโลก แม้ถ้าพวกมันเกิด

ความละอายขึ้นโดยนัย มีอาทิว่า ผู้นี้เป็นผู้มีปัญญามากผู้นี้เป็นผู้มีฤทธิ์มาก
และผู้นี้เป็นผู้ทรงคุณทางธุดงค์ แม้ถ้าพวกมันพึงให้เกิดความละอายขึ้นใน
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเป็นต้น ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกมันก็ว่าพึงเกิด
ความกลัวขึ้นว่า ผู้นี้ไม่มีคุณ เป็นผู้ทารุณ กระด้าง พวกมันก็พึงกลัวต่อ
พระเทวทัต ผู้เลิศ หรือต่อศาสดาทั้ง 6 ผู้ไม่มีคุณ ผู้ทารุณ ผู้กระด้าง
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็จะไม่ละอายและไม่กลัว โกรธขึ้นมาก็ทำให้ถึง
ความย่อยยับอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทั้งนั้น พึงทราบว่ามหาภูตรูปเป็นเหมือน
กัน โดยไม่เลือกด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า อนนฺตโทสุปทฺทวโต นี้ดังต่อไปนี้.
จริงอยู่ โทษและอันตรายที่อาศัยอสรพิษเกิดขึ้นไม่มีประมาณ. จริงอย่าง
นั้น อสรพิษเหล่านั้นกัดแล้ว ทำให้ตาบอดบ้าง ให้เป็นคนกระจอกบ้าง ให้
เป็นคนเปลี้ยบ้าง ให้เป็นคนร่างพิการไปแถบหนึ่งบ้าง เพราะฉะนั้นเหล่า
อสรพิษย่อมแสดงความพิการหาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้ แม้ภูตรูป
ทั้งหลาย โกรธขึ้นมาแล้วย่อมกระทำความพิการ บางอย่าง บรรดาความ
พิการทั้งหลายมีตาบอดเป็นต้น โทษและอันตราย ของภูตรูปเหล่านั้น หา
ประมาณมิได้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าภูตรูปเหล่านั้นเสมือนกัน โดยมี
โทษและอันตรายหาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้
บัดนี้ ในที่นี้ควรแสดงกรรมฐาน ด้วยอำนาจมหาภูตรูป 4 จนถึง
พระอรหัต กรรมฐานนั้นก็กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น ในจตุธาตุววัฏฐานนิทเทศ
คัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.

ในคำว่า ปญฺจ วธกา ปจฺจตฺถิกาติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนตํ
อุปาทานกฺขนฺธานํ อธิวจนํ
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปญฺจ วธกา
ปจฺจตฺถิกา
ศัตรูผู้ฆ่า 5 นี้แล เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ 5 นี้พึงทราบว่า
ขันธ์ทั้งหลายเสมือนกับศัตรูผู้ฆ่า ด้วยอาการ 2 อย่าง.
จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลายย่อมฆ่าซึ่งกันและกัน เมื่อขันธ์เหล่านั้นมีอยู่
ชื่อว่า ผู้ฆ่าก็ย่อมปรากฏอย่างไร. อันดับแรกรูปย่อมฆ่าทั้งรูป ทั้งอรูป
อรูป ย่อมฆ่าทั้งอรูป ทั้งรูป อย่างไร. ปฐวีธาตุแม้นี้ เมื่อแตก ย่อมพา
เอาธาตุ 3 บอกนี้แตกไปด้วย. แม้ในอาโปธาตุเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
รูปชื่อว่าฆ่ารูปนั่นแหละก่อน ด้วยอาการอย่างนี้. ส่วนรูปขันธ์ เมื่อแตก
ก็พาเอาอรูปขันธ์ 4 แตกด้วยไป เพราะฉะนั้น รูป ถือว่าฆ่าอรูปด้วยอาการ
อย่างนี้. แม้เวทนาขันธ์ เมื่อแตก ก็พาเอาสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ แตกไปด้วย. แม้ในสัญญาขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้. อรูปชื่อ
ว่าย่อมฆ่าอรูปอย่างนี้. ส่วนอรูปขันธ์ 4 ในขณะจุติ เมื่อแตก ก็พาวัตถุรูป
(หทยวัตถุ) แตกไปด้วย. อรูปชื่อว่าฆ่ารูปด้วยอาการอย่างนี้. ที่ชื่อว่า
วธกา เพราะฆ่าซึ่งกันและกันก่อนด้วยอาการอย่างนี้. ก็ขันธ์มีในที่ใด
การตัด การทำลาย การฆ่า และการจองจำเป็นต้น ก็มีในที่นั้นนั่นแล
ไม่มีในที่อื่น. เมื่อขันธ์ มีอยู่ ผู้ฆ่าย่อมปรากฏ แม้เพราะเหตุนั้น
ขันธ์จึงชื่อว่าผู้ฆ่า. บัดนี้ พึงแสดงกรรมฐาน ตั้งต้นแต่แยกขันธ์ 5 ออก
เป็น 2 ส่วน คือส่วนรูปและ อรูป(นาม) แล้วแยกนาม ด้วยอำนาจรูป
หรือแยกรูปด้วยอำนาจนามจนถึงพระอรหัตแล. แม้คำนั้น ก็กล่าวไว้แล้ว
ในวิสุทธิมรรคเหมือนกัน

ในคำว่า ฉฏฺโฐ อนฺตรจโร วธโก อุกฺขิตฺตาสิโกติโข ภิกฺขเว
นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า เพชฌฆาต
สอดแนม ( ลึกลับ ) คำรบ 6 ผู้เงื้อดาบเป็นชื่อของนันทิราคะนี้ พึงทราบ
ว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี เป็นเสมือนกับเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบ
โดยอาการ 2 อย่าง คือโดยทำศีรษะ คือปัญญาให้ตกไป และโดยทำให้
เข้าถึงกำเนิด. อย่างไร. ความจริง เมื่ออิฏฐารมณ์มาปรากฏ ทางจักขุทวาร
โลภะ อาศัยอารมณ์นั้นย่อมเกิดขึ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ศีรษะคือปัญญา
เป็นอันชื่อว่า ตกไป. แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบ
นันทิราคะ เป็นเสมือนโดยการทำศีรษะคือปัญญาให้ตกไป อย่างนี้ก่อน.
ก็นันทิราคะนั่นย่อมนำเข้าไปสู่กำเนิด 4 อย่าง ด้วยอัณฑชกำเนิดเป็นต้น
นันทิราคะนั้น มีมหาภัย 25 อย่าง และกรรมกรณ์ 32 อย่าง มีการทำ
ให้เข้าถึงกำเนิดเป็นมูล 32 ก็มาถึงเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
นันทิราคะนั้น เสมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ แม้โดยการนำเข้าถึงกำเนิด
ด้วยอาการอย่างนี้.
กรรมฐาน เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แม้
ด้วยอำนาจนันทิราคะ ด้วยประการฉะนี้. อย่างไร. จริงอยู่ นันทิราคะนี้
จัดเป็นสังขารขันธ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงกำหนด นันทิราคะนั้น
ว่าเป็นสังขารขันธ์ดังนี้แล้ว จึงทรงกำหนดขันธ์ 5 อย่างนี้ว่า เวทนาที
สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์นั้น จัดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญา เป็นสัญญาขันธ์
จิต เป็นวิญญาณขันธ์ อารมณ์ของขันธ์เหล่านี้ จัดเป็นรูปขันธ์. บัดนี้
ภิกษุรูปหนึ่งกำหนดขันธ์ 5 เหล่านั้น ด้วยอำนาจนามและรูป แล้วเจริญ

วิปัสสนา ตั้งแต่การแสวงหาปัจจัย แห่งขันธ์เหล่านั้น บรรลุอรหัตโดย
ลำดับ เพราะฉะนั้น เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐาน ด้วย
อำนาจนันทิราคะอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ความที่อายตนะภายใน 6
เป็นเสมือนบ้านร้าง มาแล้วในพระบาลีนั่นแล. ก็ในข้อนี้มีนัยแห่ง
กรรมฐานดังต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า โจรทั้ง 6 นั้น เข้าไปสู่หมู่บ้านร้างอันมีกะท่อม
6 หลัง เทียวไปเทียวมา ไม่ได้อะไรๆ ก็ไม่ต้องการบ้านฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ยึดมั่นเลือกเฟ้นในอายตนะภายใน 6 ไม่เห็นอะไร ๆ ที่ควร
ถือเอาว่าเรา ว่าของเรา ก็ไม่มีความต้องการอายตนะภายในเหล่านั้น. ภิกษุ
นั้นคิดว่า เราจะเริ่มวิปัสสนา จึงกำหนดเอาจักขุปสาทเป็นต้น ด้วยอำนาจ
รูปกรรมฐานที่ยังมีอุปาทาน กำหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ กำหนดมนายตนะ
ว่า อรูปขันธ์. และกำหนดอายตนะทั้งหมดนั้น ด้วยอำนาจนามรูปว่ามีแต่
นามกับรูปเท่านั้น แล้วแสวงหาปัจจัยของนามรูปเหล่านั้น เจริญวิปัสสนา
พิจารณาสังขารทั้งหลาย ดำรงอยู่ในพระอรหัต โดยลำดับด้วยประการ
ฉะนั้นแล. นี้เป็นอันตรัสกรรมฐาน แก่ภิกษุรูปหนึ่งจนถึงพระอรหัต.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า อายตนะภายนอก เป็นเสมือนพวกโจร
ผู้ปล้นฆ่าชาวบ้าน จึงตรัสดำอาทิว่า โจรา คามฆาตกา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนาปามนาเปสุ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ
ใช้ในอรรถ ตติยาวิภัตติ. ความว่า มนาปามนาเปหิ ด้วยอารมณ์อันน่า
พอใจและไม่พอใจ เมื่อพวกโจร พากันปล้นฆ่าชาวบ้านในที่นั้น ดำเนิน
กิจ 5 ประการ คือ พวกโจร ยินล้อมบ้าน ยืนจุดไฟเผา ทำเป็นส่งเสียง

ทะเลาะกัน แต่นั้น คนทั้งหลาย ต่างก็จะถือเอาสิ่งของสำคัญติดมือออกไป
นอกบ้าน ต่อนั้นมันก็เอามือรวบทรัพย์สิ่งของ พร้อมด้วยผู้คนแม้เหล่านั้น.
บางพวกก็ต้องประหารในที่นั้นเอง บางพวกก็ล้มลงในที่ประหาร ส่วนผู้คน
ที่ไม่บาดเจ็บนอกนั้น ก็พานำไปสู่ที่อยู่ของตน มัดด้วยเครื่องผูกคือเชือก
เป็นต้น ใช้สอยเยี่ยงทาส.
พึงทราบความเร่งร้อนคือกิเลสที่เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์มาปรากฏ ใน
ทวารทั้ง 6 เหมือนพวกโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านในที่นั้น พากันล้อมบ้าน
จุดไฟเผา เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ทุพภาสิต ปาจิตตีย์และถุลลัจจัย
ก็เหมือนผู้คนถือทรัพย์สิ่งของที่สำคัญติดมือไปนอกบ้าน เหมือนโจรใน
ขณะนั้น ที่ละกุศลกรรม ประกอบอกุศลกรรม ใช้มือรวบทรัพย์สิ่งของ
เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็เหมือนเวลาชาวบ้านที่ได้รับประหาร
เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ไม่เป็นสมณะ ก็เหมือนเวลาที่ชาวบ้าน
ล้มในที่ได้รับการประหาร เวลาที่ภิกษุทั้งปวงผู้อาศัยอารมณ์นั้นนั่นแล
ทั้งที่พิจารณาเห็นอยู่นั่นแหละ ทำลายจุลศีล มัชฌศีล และมหาศีล
แล้วบอกคืนสิกขา ถึงความเป็นคฤหัสถ์ เหมือนเวลาที่พวกโจรมัดคนที่เหลือ
(ในปัจจุบัน) นำไปสู่ที่อยู่ใช้สอยเยี่ยงทาส. ในข้อนั้น พึงทราบทุกขขันธ์
ของผู้ทำกาละของผู้เลี้ยงบุตรและภรรยา พึงทราบทุกขขันธ์ในภพหน้า
ที่เห็นได้เอง ( ตาย ) แล้วบังเกิดในอบาย.
อายตนะภายนอก แม้เหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแก่ภิกษุ
รูปหนึ่ง โดยเป็นกรรมฐานเท่านั้น. จริงอยู่ในที่นี้ อุปาทายรูป 4 มี
รูปายตนะเป็นต้น, โผฏฐัพพายตนะ คือธาตุ 3, ภูตรูป 4 เหล่านี้ คือ

ธาตุ 3 เหล่านั้น กับอาโปธาตุในธัมมายตนะจึงเป็น 4 อากาสธาตุ คือ
ปริเฉทรูป แห่งภูตรูปเหล่านั้น วิหารรูป 5 มีลหุตาเป็นต้น รวมความว่า
ภูตรูปและอุปาทายรูป ทั้งหมดนี้ จัดเป็นรูปขันธ์. ขันธ์ 4 มีเวทนา
เป็นต้น ซึ่งมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์ จัดเป็นอรูปขันธ์. สำหรับภิกษุ
ผู้กำหนดนามรูป ในบรรดาขันธ์เหล่านั้นว่า รูปขันธ์ จัดเป็นรูป อรูปขันธ์
4 จัดเป็นนาม แล้วปฏิบัติตามนัยก่อนนั่นแล เป็นอันชื่อว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสกรรมฐาน จนถึงพระอรหัต.
ความของ โอฆ ศัพท์ในคำว่า โอฆานํ นี้ มีความว่าข้ามได้ยาก.
จริงอยู่ ภิกษุผู้ตั้งความประสงค์ไว้ว่า เราจักบำเพ็ญศีลสังวรแล้วบรรลุ
พระอรหัต อาศัยกัลยาณมิตรพยายามชอบพึงข้ามโอฆะเหล่านั้น. ท่าน-
เรียกว่า โอฆะ ก็เพราะอรรถว่า ข้ามได้โดยยาก ด้วยเหตุดังกล่าวนี้นี่เอง
โอฆะ แม้เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจกรรมฐานสำหรับ
ภิกษุรูปหนึ่ง. จริงอยู่ โอฆะ แม้ทั้ง 4 ก็จัดเป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น. พึงประกอบความให้พิสดาร โดยนัยที่โอฆะ
เหล่านั้น ก็กล่าวไว้แล้วในนันทิราคะ.
บทว่า สกฺกายสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า แท้จริง สักกายตรัสว่า
น่ารังเกียจและมีภัยเฉพาะหน้า ก็ด้วยมหาภูตรูป 4 เป็นต้น เหมือนฝั่งนี้
ของห้วงน้ำ น่ารังเกียจและมีภัยเฉพาะหน้า ก็ด้วยภัยมีอสรพิษเป็นต้น
สักกายะแม้นั้น ก็ตรัสด้วยอำนาจกรรมฐานเท่านั้นสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง.
จริงอยู่ สักกายะ ก็คือปัญจขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ 3 และปัญจขันธ์เหล่านั้น

โดยย่อ ก็คือนามรูปนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงกล่าวกรรมฐาน
ให้พิสดาร ตั้งต้นแต่กำหนดนามรูปเป็นอารมณ์ จนถึงพระอรหัตด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า นิพฺพานสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า ความจริงพระนิพพาน
ชื่อว่า เป็นแดนเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้าจากมตาภูตรูป 4 เหมือนฝั่งโน้น
ของห้วงน้ำ.
ในคำว่า วิริยารมฺภสฺเสตํ อธิวจนํ นี้ เพื่อแสดงถึงการทำความ
เพียรทางจิต จึงทรงยึดเฉพาะความพยายามที่ได้รู้ไว้ในหนหลังแสดงว่า
วิริยะ ดังนี้. บทว่า ติณฺโณ ปารคโต แปลว่า ข้ามถึงฝั่ง.
ในข้อนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ผู้ยืนอยู่ฝั่งนี้อันน่ารังเกียจ
ประสงค์จะข้ามห้วงน้ำพักอยู่ 2 - 3 วัน ค่อย ๆ ตระเตรียมเรือแล้วขึ้นเรือ
เป็นเหมือนเล่นน้ำ แม้เมื่อเขาทำอย่างนั้น ก็ยังขึ้นเรือไม่ได้ย่อมถึงความ
พินาศฉันใด ภิกษุผู้ใคร่จะข้ามห้วงน้ำคือกิเลสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควร
ทำความเนิ่นช้าว่า เรายังเป็นหนุ่มอยู่ จักผูกแพคือมรรคมีองค์ 8 ต่อเวลา
เราแก่เสียก่อน จริงอยู่ ภิกษุเมื่อทำอยู่อย่างนี้ แม้เวลาแก่ก็ยังไม่ถึง ก็ถึง
ความพินาศ แม้แก่ก็ยังไม่ถึง ก็ไม่อาจทำได้. แต่ควรระลึกถึง ภัทเทก-
รัตตสูตรเป็นต้น แล้วรีบเร่งผูกแพคืออริยมรรคนี้ทันที.
ก็บุคคลจะผูกแพ ควรมีมือเท้าบริบูรณ์ จริงอยู่คนมีเท้าเป็นโรค
พุพอง หรือมีเท้าหงิกง่อย ไม่สามารถจะยินได้ บุคคลผู้มีมือเป็นแผล
เป็นต้น ไม่อาจจับใบหญ้าใบไม้เป็นต้นได้ ฉันใด ภิกษุผู้จะผูกแพคืออริย-
มรรคนี้ ก็ฉันนั้น พึงปรารถนาความบริบูรณ์ ด้วยเท้าคือศีล และด้วยมือ

คือศรัทธา. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งมั่นในพระศาสนา ไม่
เธอข้อปฏิบัติ ไม่อาจจะผูกแพคืออริยมรรคได้. อนึ่งแม้บุคคลผู้มือเท้า
บริบูรณ์ แต่ไม่มีเรี่ยวแรง ถูกพยาธิเบียดเบียน ก็ไม่สามารถจะผูกแพได้
ต่อสมบูรณ์ด้วยกำลังเท่านั้นจึงสามารถ ฉันใด แม้คนมีศีลมีศรัทธา ก็ฉัน
นั้น แต่เป็นคนเกียจคร้าน นั่งจมน่าเกลียด ก็ไม่สามารถจะผูกแพคือ
มรรคนี้ได้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงสามารถ ฉะนั้น ผู้ประสงค์จะผูก
แพคือมรรคนี้ จึงควรปรารภความเพียร. อนึ่ง บุรุษนั้นผูกแพยืนอยู่ที่
ริมฝั่ง เมื่อจะข้ามห้วงน้ำ ซึ่งกว้างประมาณโยชน์หนึ่ง จึงผูกใจว่า เรา
ต้องอาศัยความเพียรของลูกผู้ชาย พึงข้ามห้วงน้ำนี้ได้ฉันใด แม้พระโยคี
ก็ฉันนั้น ลงจงกรมพึงผูกใจว่าวันนี้ เราข้ามห้วงน้ำคือกิเลส ที่มรรค
ทั้ง 4 พึงฆ่าได้แล้วก็พึงดำรงอยู่ในพระอรหัต. อนึ่งบุรุษอาศัยแพ เมื่อจะ
ข้ามห้วงน้ำ เดินทางได้คาวุตหนึ่ง กลับเหลียวดู ย่อมรู้ว่าเราข้ามส่วนหนึ่ง
ได้แล้ว ยังเหลืออยู่อีก 3 ส่วน เดินทางไปอีกคาวุตหนึ่งกลับเหลียวดู ก็
รู้ว่าข้ามได้ 2 ส่วนแล้ว ยังเหลืออยู่ 2 ส่วน เดินทางไปอีกคาวุตหนึ่ง
ต่อนั้นก็กลับเหลียวดู รู้ว่าเราข้ามได้ 3 ส่วนแล้ว ยังเหลืออยู่ส่วนเดียว
แม้ล่วงส่วนนั้นไปแล้ว กลับเหลียวดู ก็รู้ว่า เราข้ามได้ 4 ส่วนแล้วและ
ใช้เท้าถีบแพนั้นทิ้งไป มุ่งตรงไปตามกระแสน้ำข้ามได้แล้ว ยืนอยู่ที่ฝั่ง
ฉันใด ภิกษุแม้นี้ก็ฉันนั้น อาศัยแพคืออริยมรรค เมื่อจะข้ามห้วงน้ำคือ
กิเลส ข้ามกิเลสอันปฐมมรรคคือโสดาปัตติมรรคจะพึงฆ่า ดำรงอยู่ใน
ผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต กลับตรวจดูด้วยปัจจเวกขณญาณ ย่อมรู้ว่า
บรรดากิเลสทั้งหลายที่มรรคทั้ง 4 พึงฆ่า ส่วนหนึ่งเราละได้แล้ว ยังเหลือ

อยู่อีก 3 ส่วน. เมื่อประชุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์เหมือนอย่างนั้น
นั้นแลอีก พิจารณาสังขาร ข้ามกิเลสอันมรรคจิตที่ 2 คือสกทาคามิมรรค
จะพึงฆ่า แล้วดำรงอยู่ในผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต แล้วกลับตรวจ
ดูด้วยปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ว่า บรรดากิเลสทั้งหลายที่มรรคจิตทั้ง 4 พึง
ฆ่า เราละได้แล้ว 2 ส่วน ยังเหลืออยู่อีก 2 ส่วน. เมื่อประชุม อินทรีย์
พละ และโพชฌงค์ เหมือนอย่างนั้นนั่นแลอีกพิจารณาสังขาร ข้ามกิเลส
ทั้งหลาย ที่มรรคจิตที่ 3 คือ อนาคามิมรรคจะพึงฆ่า แล้วดำรงอยู่ใน
ผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต กลับตรวจดูด้วยปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ว่า
บรรดากิเลสทั้งหลายที่มรรคจิตทั้ง 4 พึงฆ่าเราละได้แล้ว 3 ส่วน ยังเหลือ
อยู่ส่วนเดียว. เมื่อประชุม อินทรีย์ พละและโพชฌงค์ เหมือนอย่างนั้น
นั้นแลอีก พิจารณาสังขาร ข้ามกิเลสทั้งหลายที่มรรคจิตที่ 4 คืออรหัต-
มรรคจิตจะพึงฆ่า ดำรงอยู่ในผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต กลับตรวจดู
ด้วยปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ว่า กิเลสทั้งหมดเราละได้แล้ว. ลำดับนั้นภิกษุนั้น
นั่งบนอาสนะนั่นแล หรือในที่อื่น มีที่สถานที่พักกลางวันและที่พักกลางคืน
แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วคิดว่า เราพ้นแล้วจากอนัตถะภาวะที่ไม่น่าปรารถนา
มีประมาณเท่านี้หนอ แล้วแนบสนิทผลสมาบัติ อันมีพระนิพพานเป็น
อารมณ์ เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งมีใจร่าเริงนั่งอยู่ เปรียบเหมือน
บุรุษนั้น ลอยแพไปในกระแสน้ำ ขึ้นน้ำยืนอยู่บนบก หรือเข้าไปยัง
พระนคร ไปปราสาทชั้นบนอันประเสริฐ คิดว่า เราพ้นแล้ว จากอนัตถะ
ภาวะที่ไม่น่าปรารถนามีประมาณเท่านี้หนอ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีใจ
ร่าเริงยินดี นั่งอยู่ ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนี้จึงตรัสไว้ว่า

ติณฺโณ ปารคโต ถเล ติฏฺฐติ พฺราหฺมโณติ โข ภิกฺขเว อรหโต
เอตํ อธิวจนํ.
ก็ในคำว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก
คือพราหมณ์นี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ ที่นี้ ตรัสกรรมฐานต่าง ๆ ไว้อย่างนี้
ก่อน.
แต่พึงรวบรวมพระสูตรทั้งหมด แสดงรวมกัน อนึ่ง เมื่อแสดง
รวมกัน ควรอธิบายโดยอำนาจปัญจขันธ์ เท่านั้น.
อย่างไร. ความจริงในข้อนี้ มหาภูตรูป 4 อายตนะภายใน 5
อายตนะภายนอก 5 สุขุมรูป 15 ในธรรมายตนะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสัก-
กายะ* ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า รูปขันธ์ มนายตนะ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่ง
แห่งธรรมายตนะ โอฆะ 4 เป็นส่วนหนึ่งแห่งสักกายะ ดังกล่าวมานี้
จัดเป็น อรูปขันธ์ 4. ใน 2 อย่างนั้น รูปขันธ์ คงเป็นรูป อรูปขันธ์
จัดเป็นนาม ดังกล่าวมานี้ จัดเป็นนามรูป. นันทิราคะ กาโมฆะ ภโวฆะ
ส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสักกายะ ดังกล่าวมานี้
ธรรมเหล่านี้ เป็นปัจจัย แก่นามรูปนั้น ภิกษุนั้น กำหนดนามรูป พร้อม
ทั้งปัจจัย ดังว่ามานี้ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ เจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขาร
ย่อมบรรลุพระอรหัต นี้เป็นมุขคือข้อปฏิบัตินำออกจากทุกข์สำหรับภิกษุ
รูปหนึ่ง.
ในธรรมเหล่านั้น มหาภูตรูป 4 อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 11 ทั้ง
ที่เป็นภายในและภายนอก เป็นส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ ทิฏโฐฆะ
อวิชโชฆะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสักกายะ ดังว่านี้จัดเป็นทุกขสัจ, ส่วนนันทิ-
1. จุฬเวทัลลสูตร ว่าได้แก่อุปาทานขันธ์.

ราคะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ กาโมฆะ ภโวฆะ เป็นส่วนหนึ่ง
แห่งสักกายะ ดังกล่าวนี้จัดเป็นสมุทัยสัจ, นิพพานกล่าวคือฝั่งโน้น จัดเป็น
นิโรธสัจ, อริยมรรค จับเป็นมรรคสัจ.
ในสัจจะ 4 นั้น สัจจะ 2 ( ข้างต้น ) เป็นวัฏฏะ สัจจะ 2
( ข้างหลัง ) เป็นวิวัฏฏะ. สัจจะ 2 ( ข้างต้น ) จัดเป็นโลกิยะ สัจจะ 2
( ข้างหลัง ) จัดเป็นโลกุตตระ, สัจจะ 4 ดังกล่าวนี้ พึงแสดงจำแนก ด้วย
อาการ 16 6 หมื่นนัยและ ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูป ผู้เป็น
วิปจิตัญญู ดำรงอยู่ในพระอรหัต. แต่พระสูตร ทรงแสดง ด้วยอำนาจ
ทุกขลักขณะ.
จบ อรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ 1

2. รถสูตร


ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัส


[317] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมเป็นอันภิกษุนั้น
ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม 3 ประการเป็นไฉน. คือ
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 รู้ประมาณในโภชนะ 1
ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป
ด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ